top of page

เทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ ที่คุณต้องรู้

อัปเดตเมื่อ 23 ก.ค.

แน่นอนว่าในการทำธุรกิจย่อมต้องมีการสั่งซื้อสินค้าและบริการจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ สินค้าซื้อมาขายไป หรือบริการขนส่ง เป็นต้น ดังนั้น การที่ธุรกิจจะเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนย่อมขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ที่ทำให้คุณดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องและมีความสามารถในการแข่งขัน จากการคุณภาพสินค้าที่ดี ราคาที่เหมาะสม และบริการที่สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า คำถามที่สำคัญคือ อะไรคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์?


สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้คือ คุณมีทางเลือกเชิงกลยุทธ์ในทุกขั้นตอนที่คุณเริ่มกิจการและจำเป็นต้องมีซัพพลายเออร์เพื่อให้คุณสามารถเริ่มดำเนินกิจกรรมการผลิต การค้า หรือบริการได้ตามเป้าหมาย และมันจำเป็นอย่างมากที่คุณต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอนในการพิจารณาและเลือกทางเลือกเชิงกลยุทธ์ที่คุณมี


เทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์
เทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์

ความสำคัญของเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์


ทำไมซัพพลายเออร์จึงสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ?


บางกิจการที่มีชื่อเสียงและมีส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมากจนสามารถสร้างอำนาจการต่อรองเหนือซัพพลายเออร์อาจกล่าวในประเด็นนี้ว่า ความร่วมมือกับซัพพลายเออร์เป็นสิ่งจำเป็น แต่หากความร่วมมือนั้นต้องใช้เวลาและเงินมาก การเปลี่ยนซัพพลายเออร์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่า สิ่งนี้เป็นไปได้สำหรับบางกิจการโดยเฉพาะกิจการที่มีซัพพลายเออร์จำนวนมากราย และสิ่งที่ได้รับจากซัพพลายเออร์เป็นสินค้าและบริการทั่วไปที่มีผู้ผลิตและให้บริการมากมาย มีการแข่งขันราคามาก และการเปลี่ยนซัพพลายเออร์สามารถทำได้ทันทีไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายหรือเวลาในการเชื่อมต่อบริการระหว่างกัน


ในสถานการณ์ปกติที่กิจการไม่มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการให้มีมาตรฐานและความหลากหลายที่สูงขึ้น เพียงให้กิจการดำรงอยู่ในสภาวะปัจจุบันก็อาจลดทอนความสำคัญด้านเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ จนกระทั่งประสบภาวะที่กิจการเริ่มไม่เติบโต มีรายได้และกำไรลดลงต่อเนื่องในหลายปีต่อเนื่องกัน จึงจะเริ่มตื่นตัวว่าเกิดอะไรขึ้นกับกิจการ?


การพัฒนาเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์


อะไรคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์?


  1. เลือกซัพพลายเออร์ ในการเริ่มต้นกิจการหรือการมีซัพพลายเออร์รายใหม่ คุณจำเป็นต้องศึกษาซัพพลายเออร์ในตลาดให้ทั่วถึง โดยพิจารณาทั้งด้านคุณภาพ ราคา ความเข้ากันได้กับกระบวนการผลิตและการติดต่อสื่อสารธุรกิจ ความน่าเชื่อถือที่คุณจะพึ่งพาได้ในการสั่งซื้อและได้รับการส่งมอบตามเวลา ราคา คุณภาพในเงื่อนไขที่ตกลงไว้ หากเป็นไปได้คุณควรให้ความสนใจในเรื่องวิสัยทัศน์ คุณค่า และวัฒนธรรมการทำงานของแต่ละซัพพลายเออร์ที่คุณสนใจว่าสอดคล้องกับธุรกิจคุณ หากคุณมีซัพพลายเออร์ที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า และวัฒนธรรมที่เกื้อกูลกันจะเป็นปัจจัยที่เสริมให้คุณสามารถเติบโตและสร้างกำไรอย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างมาก

  2. เจรจาต่อรองเงื่อนไข จุดเริ่มต้นของทุกความสัมพันธ์ที่ดี คือ ความยุติธรรมและโปร่งใสในการทำสัญญาระหว่างกัน เงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาจำเป็นต้องครอบคลุมสิ่งที่สำคัญต่างๆ เช่น การส่งมอบ การชำระเงิน การประกัน ความรับผิดชอบ การประนีประนอมในกรณีที่มีข้อขัดแย้ง และการสิ้นสุดสัญญา เป็นต้น แน่นอนว่าสัญญาต้องมีความชัดเจนเพื่อให้เข้าใจถูกต้องปฏิบัติได้ตรงกันเพื่อลดความขัดแย้ง แต่ความยืดหยุ่นในสัญญาเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน เพื่อให้ตอบรับกับสถานการณ์ในอนาคตที่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการดำเนินการบางอย่างระหว่างกันเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางการตลาดหรือความต้องการลูกค้า

  3. แนวทางการทำงานร่วมกัน การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลสม่ำเสมอเป็นเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ที่สำคัญ การกำหนดแนวทาง ช่องทาง และความถี่ในการติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ หรือการประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทุกวันหรือทุกสัปดาห์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ทุกเดือนหรือทุกไตรมาสสำหรับผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจ เป็นต้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์การติดต่อสื่อสารให้ชัดเจน เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูล การประเมินผลการให้บริการ การหารือการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน การหารือเป้าหมายและแผนงานร่วมกัน เป็นต้น เทคนิคที่สำคัญคือ คุณจำเป็นต้องรับฟังความเห็นของซัพพลายเออร์ต่อเป้าหมายและแผนงานที่คุณเสนอ ไม่ว่าจะเป็นข้อแนะนำหรือความกังวล เพราะจะมีผลต่อความสำเร็จอย่างมากของคุณ

  4. พัฒนาความสัมพันธ์ ณ จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับสู่ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ คุณและซัพพลายเออร์ต้องมีการทบทวนและปรับปรุงรูปแบบความร่วมมือระหว่างกันให้ทันสมัยอยู่เสมอตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งปัจจัยตลาด เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของทั้งสองฝ่าย และกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันในรูปของผลประกอบการร่วมกัน (KPI) เช่น การประหยัดต้นทุน (Cost Saving) การพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvements) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) หรือส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) เป็นต้น

  5. ร่วมพัฒนานวัตกรรม ความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีความร่วมมือและเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันนั้นเป็นพื้นฐานเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการต่อยอดธุรกิจและยกระดับไปอีกขั้นหนึ่งคือ เมื่อไหร่ที่คุณพร้อมที่จะมีความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ในการพัฒนาสินค้าและบริการ (Product Development) ที่อาจเชื่อมโยงสู่กลยุทธ์การตลาด และกระบวนการให้บริการกับลูกค้าร่วมกัน ความร่วมมือนี้อาจพัฒนาไปมากกว่าการร่วมกันออกแบบวัตถุดิบ ชิ้นส่วน หรือบริการใหม่ๆ สู่ระดับที่คุณและซัพพลายเออร์ร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-create) นวัตกรรม (Co-innovate) และส่งเสริม (Co-promote) สินค้าและบริการใหม่ของคุณจากคุณค่าที่มากขึ้นที่สร้างขึ้นมาร่วมกัน และนั่นจะทำให้คุณสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างมาก (Unique Advantage)

  6. ร่วมกันต่อยอดธุรกิจในระยะยาว เทคนิคการสร้างความร่วมมือ ที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ในระยะยาว เพื่อร่วมกัน ต่อยอดธุรกิจเป็นความท้าทายที่คุณต้องทำให้ได้ สิ่งนี้เป็นความร่วมมือในเชิงกลยุทธ์ที่ลึกซึ้งและเป็นความสัมพันธ์ระยะยาว เพราะคุณและซัพพลายเออร์จะร่วมกันออกแบบวิสัยทัศน์ คุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้าร่วมกัน บนจุดแข็งและจุดอ่อน โอกาสและความท้าทายที่ทั้งสองฝ่ายสามารถสร้างพลังความสำเร็จร่วมกัน (Synergy) การเติบโตและการสร้างผลกำไรที่ยั่งยืนร่วมกันจากความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งในระยะยาว

คุณพร้อมหรือยังกับการพัฒนาเทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์


การสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของธุรกิจ และการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีเชิงกลยุทธ์นั้นใช้เวลา จึงเป็นส่ิงจำเป็นที่คุณต้องเร่ิมต้นให้เร็วที่สุด


ความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์จนเกิดเป็นความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ที่แข็งแกร่งในระยะยาวจากความแตกต่าง (Unique Advantage) บนพลังความสำเร็จร่วมกัน (Synergy) เป็นทางเลือกเชิงกลยุทธ์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม การเจรจา การทำงานร่วมกัน ไปจนถึงการพัฒนาความสัมพันธ์พันธมิตรร่วมต่อยอดธุรกิจในระยะยาว


คุณเองก็สามารถเข้าถึงกลไกการทำงานของ เทคนิคการสร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับซัพพลายเออร์ ได้เช่นกัน เพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไร ในแบบที่คุณถนัดและต้องการ


ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างไร?


เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น


  • การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)

  • การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)

  • การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)

  • การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)

 

เพื่อให้คุณสามารถติดตามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเราได้ต่อเนื่อง เราแนะนำให้คุณใส่ Email ของคุณเพื่อรับเทคนิคสร้างความสำเร็จได้เป็นประจำที่ https://www.supthavee.com/blog


ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำค่ะ


เทียนทิพย์ นาราช

ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ

บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด

Supthavee Advisory Company Limited

เราคือ ที่ปรึกษาธุรกิจการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตและสร้างผลกำไรจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน


ติดต่อเราได้ที่

Phone: 080-823-2877


Reference: LinkedIn Forum








Comentários


bottom of page