top of page

เทคนิคการแก้ปัญหา “Ask ‘why’ five times about every matter.” คุณจะพบคำตอบที่น่าทึ่งจากเทคนิคการถามคำถาม

อัปเดตเมื่อ 10 ส.ค.

คุณเคยได้ยินเรื่อง "เหตุผล 5 ข้อ (หรือ 5 เหตุผล)” ที่อธิบายโดย Taiichi Ohno จาก Toyota Motor Corporation ไหม? แน่นอนว่าเป็นเทคนิคการถามคำถามเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างมากในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการทำแผนธุรกิจเพื่อการเติบโตและการสร้างผลกำไร ยิ่งคุณค้นพบสาเหตุของปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ คุณจะยิ่งจัดการแก้ปัญหาธุรกิจได้เร็วและได้ผลมากขึ้น


“Ask ‘why’ five times about every matter."


เทคนิคการแก้ปัญหา “Ask ‘why’ five times about every matter.” คุณจะพบคำตอบที่น่าทึ่งจากเทคนิคการถามคำถาม ยิ่งคุณค้นพบสาเหตุของปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ คุณจะยิ่งจัดการแก้ปัญหาธุรกิจได้เร็วและได้ผลมากขึ้น
เทคนิคการแก้ปัญหา “Ask ‘why’ five times about every matter.” คุณจะพบคำตอบที่น่าทึ่งจากเทคนิคการถามคำถาม ยิ่งคุณค้นพบสาเหตุของปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ คุณจะยิ่งจัดการแก้ปัญหาธุรกิจได้เร็วและได้ผลมากขึ้น

“Ask ‘why’ five times about every matter."

เป็นเทคนิคสำรวจความสัมพันธ์ของเหตุและผลซึ่งเป็นรากฐานของปัญหา


เพราะปัญหาที่แท้จริงอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณมองเห็น หากยอดขายและกำไรลดลง สิ่งที่คุณทำคืออะไร เคยไหมที่การทำโปรโมชั่นก็ช่วยแก้ปัญหาได้สั้นๆ และทำให้คุณเหนื่อยมากขึ้นในแต่ละวัน และนั่นคือความสำคัญของการตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ที่จะทำให้คุณมองเห็นสาเหตุที่ทำให้ยอดขายและกำไรลดลง และบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้


หลายคนถามว่าเทคนิคการถามคำถามนี้จะเริ่มจากคำถามอะไร และจะตั้งคำถามอย่างไร 5 คำถามในเรื่องเดียวกัน จริงๆ แล้วแม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มิติความลึกและความกว้างของเรื่องนั้นมีหลายมิติให้ค้นหา ยิ่งเราสามารถค้นหาได้มากกว่าที่ได้ยินหรือมองเห็นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสามารถจัดการกับปัญหานั้นๆ ได้ตรงจุด ใช้ทรัพยากรน้อยลงทั้งเงิน คน และเวลา จึงเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลมาก


และแน่นอนว่า กลไกหลักของความสำเร็จในกลยุทธ์นี้คือ เทคนิคการถามคำถาม วันนี้เรานำ Tips ในการตั้งคำถามมาให้ลองพิจารณากันค่ะ ยิ่งเราฝึกทักษะการมองเห็นและการฟังที่ดี ต่อยอดด้วยทักษะการตั้งคำถามและการจัดการ คุณจะยิ่งมีทรัพยากรทั้งเงิน คน และเวลา เหลือมากสำหรับการต่อยอดธุรกิจเพื่อการเติบโตและสร้างผลกำไร และคลายความกังวลในการแก้ปัญหาซ้ำๆ ที่บางครั้งได้ผลบ้างและหลายครั้งก็ไม่ได้ผลบ้าง เริ่มกันเลยค่ะ


Tip #1 - เทคนิคการถามคำถามซ้ำในเรื่องที่คุณต้องรู้ 5 ครั้งเสมอ เป็นจุดเริ่มต้นของเทคนิคการแก้ปัญหาที่ทรงพลัง


เป้าหมายหลักของเทคนิคนี้คือ การระบุถึงสาเหตุของปัญหาโดยการถามคำถาม "ทำไม” ซ้ำ 5 ครั้ง จนสามารถเข้าถึงสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้งได้


และนั่นจะทำให้เราเหนี่อยน้อยลงในการแก้ปัญหา เพราะเราเข้าถึงและเข้าใจสาเหตุที่เรามองไม่เห็นตั้งแต่แรกซึ่งอาจเป็นคนละมิติการดำเนินงานกับจุดที่เราพบปัญหา อย่าลืมว่ามันไม่ใช่การถามประโยคเดิมในคำตอบเดิม


ตัวอย่างเทคนิคการถามคำถามเช่น คุณขายอาหารและพบว่าอาหารไม่ร้อน คุณจึงถามพนักงานว่า


  1. ทำไมอาหารไม่ร้อน? และได้รับคำตอบว่า ทำไว้นานแล้ว คุณจึงถามต่อ

  2. ทำไมทำนานแล้ว? และได้รับคำตอบว่า ทำไว้ก่อนจะได้เสริฟลูกค้าได้เร็ว คุณจึงถามต่อ

  3. ทำไมต้องเสริฟให้เร็ว? และได้รับคำตอบว่า ลูกค้ามักจะยกเลิกคำสั่งอาหารที่ต้องรอนาน คุณจึงถามต่อว่า

  4. ทำไมทำให้เร็วเมื่อลูกค้าสั่งแล้วไม่ได้? และได้รับคำตอบว่า เตรียมวัตถุดิบให้พร้อมทำอาหารไม่ทัน คุณจึงถามต่อว่า

  5. ทำไมจึงเตรียมวัตถุดิบไม่ทัน? และได้รับคำตอบว่า วัตถุดิบมีหลากหลายมากตามเมนูที่มีมากมาย


จากเทคนิคการถามคำถามนี้ คุณจะยังคงถามคำถามซ้ำต่อไปอีกได้ แต่ ณ​ จุดนี้คุณสังเกตุอะไรไหม?


สาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่พนักงานครัวทำงานช้า หรือบริหารงานผิดพลาดในวันนั้น แต่เป็นเพราะเมนูอาหารของคุณที่มีมากมายหลากหลายวัตถุดิบที่ต้องเตรียมมากเกินไป


Tip #2 - เทคนิคการแก้ปัญหาเริ่มจากการหาทางเลือกเพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจดำเนินการ


ยิ่งเราค้นพบปัญหาและสาเหตุของปัญหาเร็วเท่าไหร่ นั่นจะทำให้เราเข้าถึงปัญหาเพื่อบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็วตรงจุด และใช้ทรัพยากรน้อยลงกว่าการลองผิดลองถูกหลายๆ ครั้ง


เวลาที่เราพูดถึงทรัพยากรหมายถึงอะไรบ้าง? ทรัพยากรคือส่ิงที่เราต้องใช้ในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเงินหรืองบประมาณที่คุณมี คนที่คุณมีในการทำงานในแต่ละขณะเวลา และแน่นอนที่สุดคือ เวลาที่คุณมีในการแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น


จากสาเหตุของปัญหาที่ค้นพบจากการถามคำถามซ้ำ 5 ครั้ง ที่มาจากเมนูอาหารของคุณที่มีมากมายหลากหลายวัตถุดิบที่ต้องเตรียมมากเกินไป


ตัวอย่างทางเลือกในการแก้ปัญหาของคุณอาจมีอะไรได้บ้าง?


  1. ปรับเมนูให้ลดจำนวนวัตถุดิบที่หลากหลายให้น้อยลงในระดับที่บริหารจัดการได้ด้วยพนักงานที่มี โดยเลือกปรับเมนูที่ลูกค้าไม่นิยมทานมากนักเพื่อให้ไม่กระทบยอดขายและแบรนด์

  2. ไม่ปรับเมนู แต่จ้างพนักงานทำหน้าที่จัดเตรียมวัตถุดิบเพิ่มขึ้น โดยอาจจ้างเป็นพนักงานชั่วคราวเพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมทำอาหารเท่านั้น

  3. ไม่ปรับเมนูและไม่จ้างพนักงานเพิ่ม แต่คัดเลือกและเจรจากับซัพพลายเออร์ให้จัดส่งวัตถุดิบที่จัดเตรียมพร้อมให้ทำอาหารได้มาเลย เพราะประเมินว่าคุ้มค่ากว่าการลดเมนูซึ่งจะกระทบความพอใจของลูกค้า และต้นทุนที่เพิ่มน้อยกว่าการจ้างพนักงานเพิ่ม

  4. จัดสรรบางเมนูเป็น rotating menu หรือ seasonal menu ที่มีการคัดสรรวัตถุดิบกลุ่มประเภทเดียวกันในการทำอาหารได้หลายเมนู ในขณะที่เมนูประจำของร้านมีการจำกัดประเภทกลุ่มวัตถุดิบลงให้สามารถจัดเตรียมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


และแน่นอนว่าทางเลือกในการแก้ปัญหาสำหรับแต่ละธุรกิจย่อมแตกต่างกัน แม้จะอยู่ในธุรกิจร้านอาหารเช่นกันก็มีทางเลือกที่แตกต่าง ทั้งจากคุณค่าที่นำเสนอ (value proposition) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (target customers) และข้อจำกัดด้านทรัพยากร คือเงิน คน และเวลา เป็นต้น แต่ละธุรกิจจะต้องเข้าใจธุรกิจของตน ทั้งสภาวะการแข่งขัน ปัจจัยภายนอกด้านโอกาสและภัยคุกคามจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของลูกค้า และปัจจัยภายในคือจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณนั่นเอง และที่สำคัญที่สุดคือ รายละเอียดยุทธวิธี (tacticial actions) ในการดำเนินการ


"Ask ‘why’ five times about every matter." – Taiichi Ohno จาก Toyota Motor Corporation

Tip #3 - อย่าลืมคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้าในการเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาเสมอ


แน่นอนว่าคุณมีทางเลือกมากมายในการแก้ปัญหา และทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำที่สุดอาจดูน่าดึงดูดมากที่สุดสำหรับคุณ แต่อยากให้คุณอย่าลืมคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีในการแก้ปัญหาเสมอ เพราะทางเลือกที่กระทบอย่างมากต่อคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีต่อลูกค้า จะส่งผลกระทบอย่างมากในระยะยาวต่อความยั่งยืนของธุรกิจคุณ


เพราะคำถามที่สำคัญในการเริ่มกิจการคือ คุณทำกิจการนี้เพราะอะไร เพื่ออะไร เพื่อใคร และใครคนนั้นจะได้รับประโยชน์อะไรจากคุณ?

และนั่นคือการสร้างคุณค่า และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าเป้าหมายของคุณ ถ้าคุณทำได้ชัดเจนและต่อเนื่อง บวกกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดี ธุรกิจคุณย่อมมีแต้มต่ออย่างมากในใจลูกค้าของคุณ และนั่นคือความยั่งยืนของธุรกิจ


"เหตุผล 5 ข้อ (หรือ 5 เหตุผล)” เป็นเทคนิคการถามคำถามและเทคนิคการแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างมากในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการทำแผนธุรกิจเพื่อการเติบโตและการสร้างผลกำไร และนั่นคือแนวทางของเรา ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี ในการให้คำปรึกษาการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ที่อยู่บนพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของธุรกิจคุณ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เสริมสร้างคุณค่าข้อเสนอ (value proposition) ที่คุณมีให้กับลูกค้า


ที่ปรึกษาทรัพย์ทวีจะเป็นผู้ช่วยเพื่อการเติบโตของคุณในการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างไร?


เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพิจารณาว่าการพูดคุยในเชิงลึกกับเราเป็นสิ่งจำเป็น เราพร้อมและยินดีเสมอในการร่วมคิดร่วมทำกับคุณในรูปแบบการให้บริการที่คุณเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น


  • การออกแบบเส้นทางความสำเร็จของคุณ หรือ โมเดลธุรกิจ (Business Model)

  • การออกแบบแผนธุรกิจที่ติดตามและวัดผลความสำเร็จได้ (Business Plan)

  • การตรวจสุขภาพธุรกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแรงให้พร้อมกับโอกาสและความท้าทายใหม่ (Business Health Check and Action Plans)

  • การร่วมนำแผนงานไปปฏิบัติและติดตามความสำเร็จกับทีมงานของคุณ (Business Development Execution) ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดการโครงการ (Project Management) การประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy Workshop) และการฝึกอบรมพนักงาน (Training and Cascading Program)

 

ยินดีต้อนรับสู่ "Supthavee Blog" พื้นที่เผยแพร่และแบ่งปันบทความและเรื่องราวต่างๆ ด้านการจัดการธุรกิจ เทคนิคที่คุณต้องรู้ กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การจัดการ ผ่านการเล่าแนวคิดที่ผสมผสานกับกรณีศึกษาเพื่อให้ติดตามและเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น ที่คุณจะสามารถเพลิดเพลินในการติดตามอ่านได้เป็นประจำ



บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด

Supthavee Advisory Company Limited

บริการให้คําปรึกษาในทุกขั้นตอนของการเติบโตของธุรกิจของคุณ




Comments


bottom of page